วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

การใช้ "a, an"

              การเรียนรู้ภาษา เราไม่สามารถเรียนจากข้อผิดพลาดของตัวเองเท่านั้น แต่เรายังต้องเรียนจากข้อผิดพลาดของคนอื่นด้วย เพราะสูตรของการเรียนภาษาไม่มีกฎที่แน่นอนตายตัว ในส่วนนี้ นำมาลงให้ผู้ที่สนใจพัฒนาภาษาของตัวเองตระหนักเพื่อที่จะได้ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ และนี่คือช่องทางการเรียนรู้อีกช่องทางหนึ่ง เมื่ออ่านแล้ว ก็จดจำสิ่งผิดพลาดที่เห็น และก็พยายามอย่าไปทำ ส่วนประโยคที่นำมาให้ดูนั้น มันสอนอะไรเราได้ไม่น้อยทีเดียว และประโยคภาษาไทยก็น่าจำไปใช้ด้วย
(คำเตือนก่อนอ่่าน หากท่านเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องอ่านคำอธิบายทั้งหมด เอาเป็นว่า มึนตรงไหน หยุดตรงนั้น แล้วกัน ส่วนคนไหนที่ยังไม่มึน ก็อ่านต่อไป เอาเพลินๆ )
ผิด : I hope you all have a enjoyable stay.
ประโยคแก้ไข: I hope you all have an enjoyable stay.
การใช้กริยาหลัง hope เราใช้ในรูปของปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้ ดังนั้น เราจะสามารถใช้ว่า
I hope you all will have an enjoyable stay.
เราใช้ “an” นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระและออกเสียงด้วยเสียง อ อ่าง ในที่นี้คือ เอนจอยเหยอะเบิ้ล
(คำแปล : ฉันหวังว่า คุณจะมีความสุขกับการพักที่นี่นะคะ)
ผิด : My husband is doing a MSc in civil engineering.
ประโยคแก้ไข: My husband is doing an MSc in civil engineering.
เราใช้คำนำหน้า Msc ด้วยคำว่า an เพราะอักษรตัว “M” เป็นพยัญชนะก็จริงแต่ออกเสียงเด้วย อ อ่าง เป็น เอ็ม เอส ซี เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ an ไม่ใช่ "a" ตามที่เราจำกันมา
Msc คือหลักสูตรปริญญาโทในสายการเรียนที่มีการใช้การคำนวณหรือวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลัก
MA คือหลักสูตรในสายการเรียนที่ไม่มีการคำนวณหรืออาจจะมีไม่มาก นักอาทิเช่น MA in Creative Writing
สำนวนที่ใช้บรรยายว่าเรียนปริญญาโท หรือเเรียกง่ายๆว่า ทำโท หรือต่อโท เราสามารถใช้ว่า to do an MSc in + ด้านที่ไปเรียน
เช่น My brother is doing an MSc in accounting.
= พี่ชายฉันกำลังต่อโทด้านบัญชี
พี่ชายกำลังต่อโทด้าน ภาษาศาสตร์ ก็พูดได้ว่า
My sister is doing an MA in linguistics.
= น้องสาวกำลังต่อโททางภาษาศาสตร์
(คำแปล : สามีฉันกำลังต่อโทด้านวิศวกรรมโยธา)
ผิด : Sometimes it is difficult to live a honest life.
ประโยคแก้ไข: Sometimes it is difficult to live an honest life.
(คำแปล : บางที ก็ยากนะที่จะใช้ชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุดจริต)
คำว่า honest เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะก็จริงแต่เป็นพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง ดังนั้นเราจึงเปรียบเสมือนว่า มันไม่มีพยัญชนะตัวนั้น (h) onest จึงเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ o อ่านว่า อาน นิส จึงใช้ an คำในกลุ่มนี้ก็มีอีกเช่น an (h)our, an ( h) eir แปลว่าทายาท
มีผู้เรียนไม่น้อยที่ยังใช้ คำนำหน้าคำนาม “a, an” ไม่ถูกต้อง และก็ยังงงว่า เมื่อเจอคำนามนับได้แล้วจะทำอย่างไร
หากจะต้องไล่เรียงกฎเกณฑ์กัน ก็จะยิ่งทำให้ผู้เรียนสับสนมากขึ้นไปอีก เอาเป็นว่า โดยรวมแล้ว เมื่อเจอคำนามนับได้ที่ไหน แล้วไม่มีการชี้เฉพาะเจาะจงไปว่า อันนั้น สิ่งนั้น ให้ใส่คำนำหน้าไปก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่า จะใส่ “a หรือ an” ดี
หลักการใช้แบบกว้างๆก็คือ หากคำนามคำนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ใส่ “a” ไปก่อนเลย เช่น
I want to buy a book. = ฉันต้องการซื้อหนังสือ (สักเล่มหนึ่ง) ถึงแม้ในภาษาไทยเราจะไม่ระบุว่าหนังสือกี่เล่ม เรามักจะพูดว่า ฉันต้องการซื้อหนังสือ หากเป็นการพูดในลักษณะนี้ เราต้องใส่คำนำหน้านามลงไป จะใช้ว่า I want to buy book. แบบแปลตรงตัวในลักษณะนี้ไม่ได้
สิ่งต่อไปที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หากคำนามนั้นนำหน้าด้วยสระ “a, e ,i ,o และ u” หากจะมั่ว ก็ให้คำนำหน้า “an” ไปก่อน เช่น
We bought an orange yesterday. = เมื่อวานนี้ ฉันซื้อส้มมา(ลูกหนึ่ง)
นั่นคือ การใช้แบบกว้างๆ นั่นคือ ตามหลักที่เราเคยเรียนรู้กันมา
แต่เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ที่ใดมีกฎก็ย่อมมีข้อยกเว้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในการใช้ ผู้เรียนจะไม่พลาดเรื่องการใช้ “a , an” เลย หากใช้กฎเกณฑ์นี้
หากพบคำนามคำใด ไม่ว่าจะนำหน้าด้วยสระหรือพยัญชนะ แต่ออกเสียงเป็นเสียงสระ เช่น เอ อี ไอ โอ อู เอาเป็นว่า มีเสียง อ อ่างนำหน้า ละก้อ เป็นต้องใช้ “an” เช่น
An hour เราใช้ an แม้ว่า คำว่า hour จะขึ้นต้นด้วย ตัว “h” คำในลักษณะนี้มักจะเป็นคำที่ใช้ทดสอบผู้เรียนเพราะผู้เรียนจะจำว่า เมื่อคำนามขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็จะต้องใช้ “a” เช่นเดียวกับคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น a university ผู้เรียนเห็นสระ “u” ก็จะใช้ว่า an university หรือ an European country หากเราไม่รู้ เราก็จะใช้ an European country
ดังนั้น วิธีที่ที่ดีที่สุด ในการใช้คำนำหน้านาม “a, an “ นั้น ผู้เรียนต้องรู้ว่า คำๆนั้นออกเสียงว่าอย่างไร และแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะหมดไปโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ การใช้ “a หรือ an” นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำนาม แต่ให้ใช้ตามคำที่อยู่ติดกับคำนามนั้น เช่น
It is an orange. มันเป็นส้ม
และหากต้องการจะบอกว่า มันเป็นส้มที่อร่อย เราก็จะใช้ว่า It is a good orange. ไม่ใช่ an good orange. เราจะใช้คำนำหน้านามตามตัวที่อยู่ติดกับตัวมันมากที่สุด
หากจะหลักนี้ไปใช้ได้แล้ว คิดว่า ปัญหาในการใช้คำนำหน้านาม ก็จะหมดไปในที่สุด
กฏนี้สามารถนำไปใช้กับตัวเลข หรือตัวอักษร ได้ทั้งหมด เช่น
an “s”(เอส) , an “e”(อี) , a “u”(ยู) , a “5”(ฟ๊ายฝ์) , an “8” (เอ็ท) , an eleven (อี เลเวิ่น) หากอ่านดูตัวอย่างที่หยิบยกมาให้ก็จะพบว่า ทั้งตัวอักษรและตัวเลขนั้นล้วนออกเสียงด้วย สระและพยัญชนะตามกฎเกณฑ์ที่ได้อธิบายมาแล้วทั้งสิ้น
แล้วทำไมคนไทยเราจึงติดยึดอยู่กับการใช้ในรูปแบบเดิมอยู่ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เราสรุปเอาจากประสบการณ์ในการใช้โดยไม่ได้ทราบถึงหลักการใช้ที่แท้จริงของกฎนั้นๆ และเพื่อความสะดวกในการใช้ ก็เลยใช้กฎดังกล่าวสืบต่อกันมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น