วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

ไปหาอะไรทำกันเถอะ

        ชวนไปหาอะไรทำกันต่อ

A: If you are not busy, are you interested in having a picnic with me this Sunday?
ถ้าว่าง สนใจจะมาพักผ่อนกินข้าวสังสรรค์กันวันอาทิตย์นี้ไหม
B: I’d love to, but I have to study for midterm exams.
ก็อยากจะไปจนใจจะขาดอยู่แล้วแต่ต้องเตรียมตัวสอบกลางภาค
สำนวนว่าเตรียมตัวสอบ เขาใช้ว่า to study for the test
A: That’s too bad.
แย่จังเนอะ
(สำนวนนี้ไว้ใช้พูดเวลาประสบเจอะเจอสิ่งที่เรารู้สึกแย่)
B: Thanks for asking, though. Maybe we can have a picnic some other time.
ขอบคุณที่อุตส่าห์ออกปากเชิญ บางที เราอาจไปกินข้าวด้วยกันวันหลังก็ได้ คุณรู้ไหมว่า คำว่าวันหลัง นั้นเป็นคำที่คนทั่วไปชอบใช้เพราะมันให้ความรู้สึกดีๆกับคนฟัง ดังนั้นเมื่อเราต้องตกอยู่ในภาวะเดียวกันนี้ จงใช้มัน some other time หรือ next time ก็ได้
ประโยคต่อจากนี้เป็นประโยคเริ่มเรื่อง เริ่มการเชิญชวน
หากคุณไม่ยุ่ง คุณ………
If you are not busy,…..
If you are free,……. หากคุณว่าง (เอ มันเหมือนกันไหมวะเนี่ยะ ระหว่างคุณไม่ยุ่งกับคุณว่าง คิดเองก็แล้วกัน)
If you don’t have any other programs / plans,……. ถ้าไม่มีโปรแกรมอื่นๆ คนไทยชอบใช้คำภาษาอังกฤษคำนี้ไปเลย มันฟังดูสบายหูกว่า เช่น มีแพลนหรือมีโปรแกรมไหม

สนไหมล่ะกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Would you be interested in…..v ing?
You wouldn’t be interested in……v ing, wouldn’t you?
ประโยคสองประโยคนี้ไม่แตกต่างกันหรอกด้านความหมายแต่ต่างกันตรงที่ใช้โครงสร้างประโยค ขอแนะนำว่า ถ้าไม่อยากปวดหมองก็ใช้ประโยคแรกไป การใช้ “would” นั้นเป็นเพราะผู้พูดต้องการความสุภาพ หากต้องการใช้ว่า Are you interested in…ving? ก็ไม่มีใครเขาว่าดอก
กริยาเหล่านี้เขาเอาไว้ใช้ปฏิเสธว่า ทำอย่างงั้นอย่างงี้ไม่ได้
Can’t……
Won’t be able to….
และนี่ก็คือประโยคที่จะใช้บอกว่า คุณไปทำสิ่งนั้นกับเขาไม่ได้เพราะคุณต้องทำอะไรบ้าง
I have to…… ฉันต้องทำ…..
I’ve got to….. ตรูต้องทำ…..
I’m supposed to…… ตรูควรจะต้องทำ…..
อย่าลืมขอบคุณด้วยล่ะ ไหนๆเขาก็มีน้ำใจเชิญมาแล้ว ถึงแม้จะไม่ไปก็ต้องแสดงสมบัติผู้ดีกันหน่อย
Asking / inviting me

A: I’m planning a get-together party tomorrow evening. Can you come?
ฉันจะจัดงานเลี้ยงพบปะกันพรุ่งนี้เย็น มาได้ไหมล่ะ
B: I’d love to, but I am not sure I can. I think I’m supposed to study.
ก้อยากจะไปล่ะนะ แต่ไม่มั่นใจว่าว่างหรือเปล่า คิดว่าน่าจะต้องท่องหนังสือ
A: That’s too bad. Is there any chance you could possibly get out of studying?
แย่จังเลย (คนอะไร น่ารังเกียจ) มีโอกาสที่จะปลีกตัวออกมาได้ไหมล่ะ (พอจะปลีกตัวออกมาได้ไหม) จำไว้เลย Is there any chance you could possibly + กริยาที่อยากจะให้ทำ? สำนวนเกี่ยวกับคุณ chance ที่น่ารู้ก็มีอีกดังนี้แล
Now’s your chance. ตอนนี้ได้โอกาสแล้ว ทำมันซะเลย Don’t miss the chance. อย่าพลาดโอกาสล่ะ และคนเราชอบเรียกร้องขอโอกาสเพื่อพิสูจน์ตัวเอง มีไม่น้อยที่บอกว่า ฉันก็ทำแบบแกได้เพียงแต่ฉันขาดโอกาส การขอโอกาสนั้นเขาใช้ว่า Give me a chance and I will prove it. ขอโอกาสแล้วจะพิสูจน์ให้ดู เป็นต้น แต่ก็แปลกที่บางคนได้โอกาสมาแล้ว ไม่ยอมฉวยไว้ ดังนั้นจึงมีสำนวนไว้ด่าคนที่ได้โอกาสแล้วคว้า หรือได้แล้วไม่คว้า พยายามโน้มน้าวให้คว้าแบบสุดฤทธิ์สุดเดชดังนี้
This is the chance of a lifetime .
นี่เป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิตนะโว๊ย
This is your last chance.
นี่คือโอกาสสุดท้ายของแกแล้วนะ
Take the chance.ใช้โอกาสนั้นซะ แต่ถ้าจะให้มันถึงอกถึงใจพ่อคุณแม่คุณก็นี่เลย Grab the chance / Jump at the chance. ทั้งหมดแปลว่า รีบฉวยโอกาสไว้ซะ สองอันหลังนี่นัยว่ามันเร้าใจกว่า เพราะมีคำว่า กระโดด (jump at) เข้ามาร่วมด้วย หากไปเจอคนที่ใจดี เขาจะบอกว่า I give you one more chance. ฉันจะให้โอกาสแกอีกครั้ง ขอขู่หน่อยว่า This is your last chance. นี่คือโอกาสสุดท้ายของแกแล้วด้วย เอาเลยพวกเรา จำไปใช้เลย จะเอาไปพูดกันเล่นๆ หรือจะกะเอาไปด่ากันก็เชิญ ขอให้ได้มีโอกาสเอาไปใช้ได้เป็นพอ
B: I’m not sure. Let me check and get back to you.
ไม่แน่ใจว่ะ ขอเช็คดูก่อนแล้วจะไปบอก
สำนวนนี้น่าใช้เพราะมันคล้องจองกันด้วย อะไรเช็คๆ เก็ทๆ (check , get ) มันคล้องจองกันดีออก
A: Okay, but please try to come. It won’t be great fun without you.
ตกลง แต่ก็พยายามหน่อยก็แล้วกันนะ มันไม่สนุกหรอกถ้าไม่มีเธอ (จริงๆแล้วชอบคำพูดหลังนี้มากกว่า มันเป็นคำพูดที่หล่อเลี้ยงจิตใจคนจริงๆนะ คุณพูดได้เลยและในทำนองแซวกันเล่นว่า งานนี้สนุกแน่ถ้าไม่มีเธอ It will be great fun without you. จะบอกอะไรให้ คนไทยชอบใช้คำว่า funny ในความหมายสนุก จงใช้ซะใหม่ว่า It’s fun. อันนี้แค่สนุกธรรมดา ส่วนอันต่อไปนี้สนุกมากมายมหาศาลก็It’s great fun. ส่วนไอ้ funny นั้นมันหมายถึง ตลก ขบขัน ประหลาด แปลก ทะแม่งๆ เช่น It’s funny. ก็จะหมายถึง ตลกมาก
That’s funny. ประหลาดมาก น่าประหลาดใจมาก
It’s not funny. มันไม่ใช่เรื่องตลกเลยนะแก อันนี้ค่อนข้างจะจริงจังแล้วล่ะ
What’s so funny? ขำอะไรกันนักหนาเหรอพวก
อันนี้ก็จริงจังไม่แพ้กัน ผู้ถูกหัวเราะเริ่มอยากเปิดศึกทำสงครามแล้วล่ะ
B: It’s nice of you saying that. I’ll do my best.
ขอบคุณที่พูดยอสักขนาดนั้น จะพยายามสุดๆแล้วกัน
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
คำอธิบายเพิ่มเติม
คำพูดต่อไปนี้เป็นคำพูดที่ถามว่า จะมาได้ไหม ซึ่งแสนจะธรรมดาที่สุด
ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าบางสำนวนมีคำว่า Do you think และบางสำนวนไม่มีสำนวนนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจไปใยให้เหนื่อยใจเพราะเราสามารถใช้สำนวนว่า Do you think…? ได้ในทุกประโยค เพียงแต่ต้องระวังหน่อยก็ตรงที่ เมื่อใดที่ใช้สำนวนนี้แล้ว เราต้องวางตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา เช่น
Is he a good student?
โปรดสังเกตตำแหน่ง is + he
Do you think he is a good student?
โปรดสังเกตตำแหน่ง he + is เมื่อมี Do you think
Should we go to the party?
โปรดสังเกตตำแหน่ง should + we เมื่อมี Do you think
Do you think we should go to the party?
โปรดสังเกตการวางตำแหน่งของ we + should
Can you come?
Do you think you can come?
Do you think you’d be able to come?
Would you be able to come?
Can you make it? สำนวนนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะการใช้สำนวนว่า to make it หมายถึง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น
Can you go with me? มากับฉันได้ไหม
ฉันคิดว่าฉันมาไม่ได้ คุณสามารถใช้ว่า I am sorry I can’t make it.
ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับคำพูดที่ถูกพูดมาแล้วก่อนหน้านี้ แล้วเราก็ตอบรับไปว่าทำได้หรือไม่ได้ เช่น
คุณคิดว่า เขาจะสามารถสอบผ่านได้ไหม
Do you think that he can pass the test?
ฉันคิดว่าเขาทำไม่ได้ = I think he can’t make it. เป็นต้น
Do you think you can make it? อันนี้ก็เหมือนประโยคข้างบน และขอส่งท้ายอีกสำนวนหนึ่ง เอาไว้ใช้เวลาที่เราอยากจะเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น การกระทำใดการกระทำหนึ่งเกิดขึ้น ให้เราใช้ว่า Let’s make it happen. เรามาทำให้มันเกิดขึ้นกันซิ ช่วยๆพูดกันให้บ่อยๆ แล้วเราจะเห็นสิ่งต่างๆเกิดขึ้นบนโลกอีกมากมาย
และสำนวนต่อไปนี้เป็นการแบ่งรับแบ่งสู้ แบบให้ความหวังว่า เออ ขอกลับไปดูอีกครั้งแล้วจะติดต่อกลับไป แล้วจะแจ้งให้ทราบ
Let me check and get back to you. สำนวนนี้มีเสน่ห์ตรงที่เขาใช้คำว่า check and get back.
I’ll check and let you know.
และนี่ก็หมายถึง ทำอะไรแบบสุดแล้วตามความสามารถที่มี มากกว่านี้ก็ต้องไปทำกันเอาเอง เรามักจะบอกคนเขาว่า เราจะทำให้เต็มที่อะไรเทือกนั้น
I’ll do my best. = พยายามสุดๆ
I’ll try as hard as I can. = ความหมายเหมือนประโยคบนเดี๊ยะเลย เลือกใช้เอาเอง ดีทั้งสองอัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น