win
ในโลกนี้ คงไม่มีใครเกิดเพื่อเป็นผู้แพ้ ทุกคนล้วนอยากเป็นผู้ชนะทั้งสิ้น ก็อย่างที่สุภาษิตเขาบอกไว้ว่า ไม่มีอะไรยากเท่ากับการชนะใจตนเอง ยังจำกันได้ไหมที่สุภาษิตเขาบอกว่า You are your own worst enemy. เอาล่ะก็จะมาดูกันว่า เราจะชนะใครอะไรที่ใดได้บ้าง
คำนี้ค่อนข้างมีที่ใช้กว้างขวางมาก
ความหมายแรกที่ควรรู้คือ ชนะ
I won the game. = ฉันชนะเกมส์นี้ เรียกว่าชนะอะไรก็ไอ้ที่ชนะมาวางไว้หลังคำนี้ก็แล้วกัน
A competition = การแข่งขัน a singing contest = การแข่งขันร้องเพลง a match = การแข่งขัน a tournament = การแข่งขัน จะเห็นว่าคำว่า การแข่งขันมันมีมากมายก่ายกอง เราไม่ต้องจำอะไรมาก ใช้ตามที่เขาใช้กัน เอากว้างๆ ก็ a match , a competition
ถ้าเราชนะได้เหรียญทอง ก็พูดได้ว่า We won the gold medal.
เหรียญเงินก็ a silver medal , a bronze medal นี่ก็เหรียญทองแดง ส่วนรางวัลปลอบใจสำหรับคนที่เข้าร่วมการแข่งขันแต่ไม่ชนะ ก็เอาไอ้นี่ไป a consolation prize บางคนเห็นคำมันยาวก็ตกใจไม่อยากเรียนรู้แล้ว คำนี้ อ่านว่า คาน เสอะ เล เชิ่น หมายถึง ปลอบใจ เรานึกถึงมันบ่อยๆ มันก็ชอบเราเอง เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ดูการแข่งขันก็นึกถึง 4 อย่างนี้ ให้มันรู้ไปว่าจะจำมันไม่ได้
คำนี้ยังเอามาใช้ในสถานการณ์อื่นอีกด้วยเช่น
ชนะใจ เราก็พูดว่า Finally, I won her heart. = ในที่สุดฉันก็ชนะใจเธอ ทุกคนคงอยากจะชนะใจใครสักคนเป็นแน่ แต่ถ้าบอกว่า ฉันชนะใจคนทั้งประเทศนี่มันก็น่าชื่นใจเหมือนกันเนอะ เราลองคิดประโยคนี้ดูซิ
I won the hearts of the nation. I won the hearts of Thai people. ก็ได้เหมดเลย เห็นไหมว่าเราเติม “s” ที่ heart เพราะหัวใจมีหลายดวง ก็เล่นทั้งประเทศนี่นา
ทีนี้ ลองมาดูซิว่า หากเราต้องการจะถามว่าใครชนะในการแข่งรอบชิงชนะเลิศ เราจะใช้ว่า
ใคร = who, ชนะ = won + the men’s finals (รอบชนะเลิศของฝ่ายชาย) + in + กีฬาที่แข่งกัน เอามาดูกัน
(ที่ใช้ “won” เพราะมันเป็นกริยาช่อง 2 เพราะมันผ่านไปแล้ว ชนะแล้วนะครับ)
Who won the men's finals in the tennis?
ใครชนะการแข่งขันเทนนิสชายรอบชิงชนะเลิศ
เรามาฝึกกันต่อ ใครชนะการแข่งขันวอลเล่ย์บอลหญิงรอบชิงชนะเลิศ เราก็พูดได้ว่า
Who won the women’s finals in volleyball?
เป็นไง ยากส์ไหม โอ้โห ง่ายจะตายถ้าจับหลักได้
ใครชนะการแข่งขันตระกร้อหญิงรอบชิงชนะเลิศ เราก็ใช้โครงสร้างนี้แหละมาพูด
Who won the women’s finals in takraw ?
ถ้าเป็นรอบรองชนะเลิศ เราจะใช้ว่า semi-finals
เช่น ใครชนะการแข่งขันฟุตบอลชายรอบรองชนะเลิศ เราก็ใช้ว่า
Who won the men’s semi-finals in football? เป็นไง พอไหวไหม
เรียกว่าต้องการจะเอากีฬาอะไรมาลง ก็ใส่ไว้ข้างหลัง ต้องการจะเอารอบไหนมาเล่าก็ใส่ไว้ในตำแหน่งที่บอก
ส่วนใครชนะ เราก็ใช้ว่า Who is the winner? ก็พอแล้ว ง่ายดีด้วย แต่ถ้าต้องการถามแบบยาวว่าชนะในกีฬาอะไร รอบไหน ชายหรือหญิง ต้องใช้โครงสร้างที่ให้มา และก็หมั่นนึกถึงมันบ่อยๆ
ใครชนะอะไร เราก็ใช้สำนวน Who won + อะไรที่แข่งกัน เช่น
ใครชนะการต่อยตี Who won the fight? สามีหรือภรรยา Husband or wife? (ในกรณีที่มีการตบตีกัน) คำว่า fight ก็คือ การทะเลาะ การตีกันทุกรูปแบบ
Who won the battle? คำว่า a battle เป็นสงครามย่อยๆ
ใครชนะการเลือกตั้ง เราก็ถามได้ว่า Who won the election?
ใครชนะการแข่งขัน ก็ Who won the match? ง่ายไหม
ต่อไปนี้คือสำนวนที่เราต้องจำเอาไว้ใช้แล้ว
เวลาใครแพ้ เราก็ต้องไปปลอบเขาว่า
You win some, you lose some. = แพ้บ้างชนะบ้างเป็นเรื่องธรรมดาน่า หรืออีกสำนวนหนึ่ง You can’t win them all. ก็เหมือนกัน ใครชอบอันไหนก็ใช้อันนั้น
ส่วนคนที่จิตใจสูงส่ง ก็จะมีคำพูดเก๋ไก๋ว่า
Win or lose. It doesn’t matter. It’s the spirit that counts. แพ้ชนะ ไม่สำคัญหรอก การมีน้ำใจนักกีฬาต่างหากที่สำคัญ (แค่นี้เขาก็ซึ้งคุณแล้ว)
เวลาเราออกเสียงว่าจะทำอะไรกัน แล้วมีคนที่ชนะ เช่น
What will we eat for dinner? เราจะหม่ำอะไรกันดีล่ะมื้อเย็นนี้
A: Chinese (อาหารจีน)
B: Thai (อาหารไทย)
C: Italian (อิตาลี่)
หากเราชอบใครก็บอกไปว่า You win. I’ll eat pizza.เป็นต้น
สุดท้ายคือสำนวนที่ต้องรู้เพราะมันเป็นสำนวนที่สำคัญและใช้กันบ่อยมากในสถานการณ์ต่างๆ ไม่เฉพาะแต่การกีฬา
A win-win situation = ดีทั้งสองฝ่าย ชนะทั้งสองฝ่าย (มีแต่ได้กับได้)
Flexible working hours are a win-win situation for employers and employees.
= เวลาการทำงานแบบยืดหยุ่นดีทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง
This agreement is a win-win for everyone.
= ข้อตกลงนี้ดีกับทุกคน
The decision is a win-win for both sides.
= การตัดสินใจครั้งนี้ดีทั้งสองฝ่าย
แต่หากเป็นตรงข้ามคือ ไม่มีใครชนะ เราจะพูดว่า It’s a no-win situation. ก็เป็นการรู้กันว่าตามนั้น to be in a no-win situation
เช่น We are in a no-win situation. = เราแพ้
If my child is sick and I leave work early, I'm a bad employee. If I don't, I'm a bad mother. It's a no-win situation.
= ถ้าลูกฉันป่วยและออกจากงาน ฉันก็เป็นพนักงานที่แย่ ถ้าฉันไม่ออกจากงานเร็ว ฉันก็เป็นแม่ที่ไม่ดี เป็นสถานการณที่ไม่มีใครชนะ
แต่ก็มีสำนวนที่เอาไว้คุยทับกัน เช่น You will never win. อย่างแกไม่มีทางชนะหรอก
You are a born loser. แกมันขี้แพ้ หรือแพ้แล้ว จะกลับมาเอาคืนก็ I will get back at you next time. = ครั้งหน้าเจอกันใหม่ (คือการแก้แค้น) ทำนองนั้น หรือ Next time. We will win. คราวหน้า ข้าจะชนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น