วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประโยคผิด-ถูก

ประโยคผิด : It takes me about a hour to get to school.
ประโยคแก้ไข : It takes me an hour to get to school.
ประโยคผิด :All applicants must have an university degree.
ประโยคแก้ไข : All applicants must have a university degree.
มีผู้เรียนไม่น้อยที่ยังใช้ คำนำหน้าคำนาม “a, an” ไม่ถูกต้อง และก็ยังงงว่า เมื่อเจอคำนามนับได้เอกพจน์แล้วจะทำอย่างไร ...
หากจะต้องไล่เรียงกฎเกณฑ์กันก็จะยิ่งทำให้ผู้เรียนนั้นสับสนมากขึ้นไปอีก เอาเป็นว่า โดยรวมแล้ว เมื่อเจอคำนามนับได้ที่ไหน แล้วไม่มีการชี้เฉพาะเจาะจงไปว่า อันนั้น สิ่งนั้น ให้ใส่คำนำหน้าไปก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่า จะใส่ “a หรือ an” ดี
หลักการใช้แบบกว้างๆก็คือ หากคำนามคำนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ใส่ “a” ไปก่อนเลย เช่น
I want to buy a book. = ฉันต้องการซื้อหนังสือ (สักเล่มหนึ่ง) ถึงแม้ในภาษาไทยเราจะไม่ระบุว่าหนังสือกี่เล่ม เรามักจะพูดว่า ฉันต้องการซื้อหนังสือ หากเป็นการพูดในลักษณะนี้ เราต้องใส่คำนำหน้านามลงไป จะใช้ว่า I want to buy book. แบบแปลตรงตัวในลักษณะนี้ไม่ได้
สิ่งต่อไปที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หากคำนามนั้นนำหน้าด้วยสระ “a, e ,i ,o และ u” หากจะมั่ว ก็ให้คำนำหน้า “an” ไปก่อน เช่น
We bought an orange yesterday. = เมื่อวานนี้ ฉันซื้อส้มมา(ลูกหนึ่ง)
นั่นคือ การใช้แบบกว้างๆ นั่นคือ ตามหลักที่เราเคยเรียนรู้กันมา
แต่เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ที่ใดมีกฎก็ย่อมมีข้อยกเว้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในการใช้ ผู้เรียนจะไม่พราดเรื่องการใช้ “a , an” เลย หากใช้กฎเกณฑ์นี้
หากพบคำนามคำใด ไม่ว่าจะนำหน้าด้วยสระหรือพยัญชนะ แต่ออกเสียงเป็นเสียงสระ เช่น เอ อี ไอ โอ อู เอาเป็นว่า มีเสียง อ อ่างนำหน้า ละก้อ เป็นต้องใช้ “an” เช่น
An heir คำนี้ออกเสียงว่า แอร์ เราจึงใช้ an ไม่ใช่ a ถึงแม้ว่าคำนามจะขึ้นต้นด้วย h ก็ตาม
An hour เราใช้ an แม้ว่า คำว่า hour จะขึ้นต้นด้วย ตัว “h” คำในลักษณะนี้มักจะเป็นคำที่ใช้ทดสอบผู้เรียนเพราะผู้เรียนจะจำว่า เมื่อคำนามขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็จะต้องใช้ “a” เช่นเดียวกับคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น a university ผู้เรียนเห็นสระ “u” ก็จะใช้ว่า an university หรือ an European country หากเราไม่รู้ เราก็จะใช้ an European country
ดังนั้น วิธีที่ที่ดีที่สุด ในการใช้คำนำหน้านาม “a, an “ นั้น ผู้เรียนต้องรู้ว่า คำๆนั้นออกเสียงว่าอย่างไร และแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะหมดไปโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ การใช้ “a หรือ an” นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำนาม แต่ให้ใช้ตามคำที่อยู่ติดกับคำนามนั้น เช่น
It is an orange. มันเป็นส้ม
และหากต้องการจะบอกว่า มันเป็นส้มที่อร่อย เราก็จะใช้ว่า It is a good orange. ไม่ใช่ an good orange. เราจะใช้คำนำหน้านามตามตัวที่อยู่ติดกับตัวมันมากที่สุด
หากจะหลักนี้ไปใช้ได้แล้ว คิดว่า ปัญหาในการใช้คำนำหน้านาม ก็จะหมดไปในที่สุด
กฎนี้สามารถนำไปใช้กับตัวเลข หรือตัวอักษร ได้ทั้งหมด เช่น
an “s”(เอส) , an “e”(อี) , a “u”(ยู) , a “5”(ฟ๊ายฝ์) , an “8” (เอ็ท) , an eleven (อี เลเวิ่น) หากอ่านดูตัวอย่างที่หยิบยกมาให้ก็จะพบว่า ทั้งตัวอักษรและตัวเลขนั้นล้วนออกเสียงด้วย สระและพยัญชนะตามกฎเกณฑ์ที่ได้อธิบายมาแล้วทั้งสิ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น