วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

อย่าเข้าใจผิด

Don’t ever mistake my silence for ignorance,

my calmness for acceptance

and my kindness for weakness.


อย่าเข้าใจผิดว่า..... การที่ไม่พูดอะไรเป็นเพราะไม่รู้อะไร
อย่าเข้าใจผิดว่า..... การสงบนิ่งคือการยอมรับ
และอย่าเข้าใจผิดว่า..... การที่ใจดีคือความอ่อนแอ

สำนวน

To mistake เป็นคำกริยา หมายถึง เข้าใจผิด เช่น
They always mistake my intention.
= พวกเขามักแปลเจตนาฉันผิด
The boss mistook my message.
= หัวหน้าเข้าใจสิ่งที่สื่อผิดไป
และ to mistake + ใคร หรืออะไร + for + ใครหรืออะไรก็จะหมายถึง เข้าใจผิดว่าคนนั้นหรือสิ่งนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งหรืออีกคนหนึ่ง เช่น
I always mistake Henry for Jimmy because they are twins.
= ฉันมักจะเข้าใจผิดว่า เฮนรี่คือจิมมี่เพราะเขาเป็นฝาแฝดกัน ( I always think that Henry is Jimmy.)
He mistook me for my brother.
= เขาเข้าใจผิดว่าฉันเป็นน้องชาย ( He thought that I was my brother.)
My memory was so terrible that I mistook her for her mom.
= ความจำฉันแย่มากที่คิดว่าเธอคือแม่
( I thought that she was her Mom.)
เพราะฉะนั้น หากงง ให้จำโครงสร้าง S + think (s) / thought + that ไว้ ก็ดี
และหากต้องการบอกว่า ใครเข้าใจผิด เราสามารถใช้ว่า
Sorry! I was mistaken. = ขอโทษด้วย เข้าใจผิด (ใช้ได้ในทุกเรื่อง)
และสำนวนส่งท้ายสำหรับคำนี้คือ
S + can’t mistake + ใครหรืออะไร หมายถึง สิ่งนั้นหรือคนๆนั้นจำง่าย ไม่มีทางเข้าใจผิดไปเป็นอื่นได้เลย เช่น
You can’t mistake her because she is the prettiest girl in the party.
= รับรอง ไม่มีทางจำคนผิดหรอกเพราะเธอเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในงาน
He can’t mistake the hotel because he goes there every week.
= ไม่มีทางที่เขาจะจำโรงแรมผิดเพราะไปทุกอาทิตย์
Make no mistake about it. เป็นการเน้นย้ำว่า สิ่งที่เตือนมันไม่พลาด มันเป็นจริงตามที่เตือน ภาษาไทยก็คือ บอกแล้ว ไม่มีพลาด เป็นอย่างนั้น เช่น
Make no mistake about it. The company will go bankrupt.
= บอกแล้ว ไม่พลาดหรอก บริษัทจะเจ๊ง
Make no mistake about it. She is a liar.
= เตือนแล้ว ไม่มีพลาดหรอก เธอโกหก
Make no mistake about it, if we don't address these problems now, they will only get worse.
= บอกแล้ว ไม่มีพลาดหรอก ถ้าเราไม่เข้าไปแก้ปัญหาตอนนี้ ปัญหาจะยิ่งเลวร้ายมากกว่านี้
silence (ซาย) เลิ่นซ์ หมายถึง ความเงียบ มีข้อความสอนใจข้อความหนึ่งบอกว่า Speech is silver; silence is gold. = พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง ไม่พูดดีกว่าพูด หรือแปลอีกทีก็คือ การนิ่งไว้ดีที่สุดนั่นเอง
ส่วนสำนวนเกี่ยวกับ ignorance (อิก) เหนอะ เริ่นส์ คือ Ignorance is kind. = การไม่รู้อะไรเป็นการดี เพราะรู้อะไรเยอะแต่ปล่อยวางไม่เป็นมันคือความเครียด เพราะฉะนั้น เวลามีปัญหาหรือเรื่องอะไรแล้วไม่รู้ซะได้เป็นการดี ให้จำข้อความนี้ไว้ เวลาอยากรู้เรื่องอะไรของใคร (ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร หรือดีซะอีกที่ไม่รู้) เราสามารถใช้ว่า Ignorance is bliss. ก็ได้ เพราะคำว่า bliss คือ ความสุขแบบมีปีติ นัยยะก็คือ ไม่รู้อะไรนั่นแหละคือความสุข เพราะรู้ทั้งสิ่งดีและไม่ดี มันก็ทำให้ใจเราหวั่นไหวได้หมด
คำว่า calm หมายถึงสงบ เช่น Keep calm and try not to panic. = สงบไว้ เย็นไว้ อย่าตื่นตระหนก
Whatever happens, remain calm.
= อะไรจะเกิดขึ้น ก็สงบไว้ เย็นไว้
Calm yourself down and it will be OK.
= ใจเย็นๆ ทำใจให้สงบ แล้วจะดีเอง
Let it be! She is trying to calm herself down.
= ปล่อยไป หล่อนพยามทำตัวเองให้เย็นลง
When you get mad, try to calm yourself down by counting from 1- 10.
= เวลาโกรธ ให้ทำใจให้สงบด้วยการนับ 1 ถึง 10
และ Things calm down. = ทุกอย่างสงบลง ทุกอย่างดีขึ้น
Don’t worry. Things will calm down soon.
= ไม่ต้องกังวลไป ทุกอย่างจะเป็นปกติในไม่ช้า
ส่วนคำนี้เป็นคำนามแต่อยากให้เอาไปใช้กันเพราะมีข้อคิดแฝงอยู่ The calm before the storm. เอาไว้ใช้เวลาต้องการจะสื่อว่า อะไรที่มันสงบๆ เดี๋ยวมันจะมีเรื่อง (เปรียบไปเหมือนพายุ ก่อนจะเกิดพายุ ท้องฟ้ามันจะสงบก่อน) ทุกอย่างในชีวิต ก่อนจะเกิดปัญหามันจะมีความสงบเกิดขึ้นก่อน มันเป็นแบบนี้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น